Description
– มีขีดบอกปริมาตรต่าง ๆ แสดงไว้ ทำให้สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง คือสามารถใช้แทน volumetric pipette ได้ แต่ใช้วัดปริมาตรได้แน่นอนน้อยกว่า volumetric pipette นั่นคือมีความผิดพลาดมากกว่า
– ความผิดพลาดขึ้นอยู่กับความจุของปิเปตต์และระดับคุณภาพ
– ปิเปตต์ที่มีความจุมากมีความผิดพลาดมากกว่าปิเปตต์ที่มีความจุน้อย
– ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ B มีความผิดพลาดมากกว่าระดับชั้นคุณภาพ A ถึง 2 เท่า ดังนั้นในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ปิเปตต์ระดับชั้นคุณภาพ A
– ที่ความจุเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบความผิดพลาดระหว่าง graduated pipette กับ volumetric pipette จะเห็นว่า graduated pipette มีความผิดพลาดเป็น 2 เท่าของ volumetric pipette ดังนั้น ในการทดลองที่ต้องการความแม่นยำสูง จึงควรเลือกใช้ volumetric pipette จะดีกว่า
ขั้นตอนการใช้งาน
- ใช้มือบีบอากาศออกจากลูกยาง แล้วสวมลูกยางที่ปลายบนของปิเปตต์ที่สะอาดและแห้ง
- จุ่มปลายปิเปตต์ลงในสารละลายที่จะวัดปริมาตร
- ดุดของเหลวขึ้นไปในปิเปตต์จนเลยขีดปริมาตรบนก้านปิเปตต์ประมาณ 3 cm.
- ดึงลูุกยางออกใช้นิ้วชี้ขวาปิดปิเปตต์ให้แน่นโดยทันที
- ใช้กระดาษทิชชูซับหยดของเหลวที่เกาะอยู่ภายนอกของปิเปตต์
- ปรับปริมาตรจนกระทั่งส่วนโค้งเว้าต่ำสุดตรงกับขีดบอกปริมาตร
- ปล่อยสารละลายที่อยู่ในปิเปตต์ลงในภาชนะรองรับ แล้วแตะปลายปิเปตต์กับข้างภาชนะ
Reviews
There are no reviews yet.