อบเชยผง 50 กรัม

฿35.00

อบเชย หรือที่เรียกกันว่า ซินนามอน ในภาษาอังกฤษ เป็นเครื่องเทศที่คนไทยรู้จักกันดี ด้วยกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร และมีรสหวานอมเผ็ดแบบสัมผัสได้ที่ปลายลิ้น ทำให้ถูกนำมาแต่งกลิ่น เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหารมากมาย ทั้งอาหารคาว เช่น พะโล้ มัสมั่น ผงกะหรี่ และอาหารหวาน อย่าง ขนมเค้ก คุกกี้ รวมถึงเครื่องดื่มบางชนิด

Description

1. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน

ในต้นอบเชย มีสารโพลีฟีนอล จำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ในทางแพทย์แผนจีนใช้ในการบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งจากการศึกษาในหนูทดลองของประเทศจีน พบว่าอบเชยสามารถเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดระดับไตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ และจากการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่า อบเชย นอกจากจะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้วยังช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้ดีขึ้นได้ โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม คอเลสเตอรอลชนิดเลว และไตรกลีเซอไรด์

อย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์ปัจจุบัน แม้มีงานศึกษาวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานอบเชย หรือ สารสกัดจากอบเชยอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้ แต่เนื่องจากงานศึกษายังไม่เพียงพอ ทำให้อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกว่า อบเชยจะสามารถรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานในระยะยาวได้หรือไม่ และมีความเสี่ยงมากน้อยขนาดไหน หากกินอย่างต่อเนื่อง

2. ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันเซลล์สมองฝ่อ

อบเชย ถูกใช้ในการแพทย์แผนจีนอย่างแพร่หลาย ทำให้มีการศึกษาค้นคว้าและวิจัยถึงสรรพคุณของมันอยู่ตลอด ในปีค.ศ.2005 นักวิทยาศาสตร์จีน พบว่า อบเชยสามารถช่วยลดไขมันในเลือด ได้ถึง 94% และยังสามารถนำมาใช้รักษาและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและเซลล์สมองฝ่อได้ นอกจากนี้ ยังช่วยสลายลิ่มเลือด ขยายหยอดเลือด การไหลเวียนของเลือด และลดไขมันกับความหนืดของเลือดได้ดีขึ้น รักษาการขาดแคลนโลหิตที่มาหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 89% และลดการเกิดลิ่มเลือดที่เกิดจากไขมันในเลือดสูงได้ถึง 80% ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.2007 ก็ได้สรุปผลการทดลองว่า อบเชยนั้นสามารถนำมาใช้เป็นตัวยาในการรักษาโรคความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคทางประสาทได้

3. ช่วยรักษาอาการอักเสบทางผิวหนังหรืออวัยวะภายในได้

เนื่องจากในอบเชย มีสารประกอบฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)  เช่น กอสไซปิน (Gossypin) เฮสเพอริดิน (Hesperidin) เควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้ รวมถึงยังมีงานทดลอง ที่พบว่า สารไฮดรอกซีซินนามาลดีไฮด์ (Hydroxycinnamaldehyde) ที่สกัดจากอบเชย อาจมีประสิทธิภาพในการรักษาหรือป้องกันการอักเสบจากโรคทางระบบประสาท และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกมะเร็งได้ อบเชย จึงอาจมีคุณสมบัติ ช่วยรักษาอาการอักเสบทางผิวหนังหรืออวัยวะภายในได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นการทดลองแค่เซลล์ในมนุษย์ ยังไม่มีการศึกษาทดลองในมนุษย์จริง ๆ  จึงยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถึงประสิทธิภาพในด้านดังกล่าว จึงควรรอผลการศึกษาทดลองเพิ่มเติมต่อไป

4. แก้อาการปวดกระเพาะอาหารและกระเพาะลำไส้ได้

น้ำมันระเหยในเปลือกของต้นอบเชย โดยเฉพาะต้นอบเชยจีน นอกจากให้กลิ่นหอม ยังมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย Helicobactor pyroli ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะลำไส้ให้มีการบีบตัวแรงขึ้น เพิ่มน้ำย่อย ช่วยขับลมและคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะลำไส้ จึงสามารถช่วยแก้อาการปวดกระเพาะและลำไส้ได้

1. ใช้ทำอาหารและเบเกอรี่

ด้วยมีกลิ่นหอม อบเชย จึงถูกนำมาแต่งกลิ่นและเป็นเครื่องเทศในอาหารมากมาย ใช้ในรูปแบบทั้งที่เป็นก้าน บดเป็นผง หรือนำไปทำเป็นน้ำตาลกลิ่นอบเชย โดยก่อนใช้ต้องคั่วหรือเผาก่อน จึงจะมีกลิ่นหอม อาหารคาวในประเทศไทยที่มีอบเชยเป็นส่วนผสม เช่น มัสมั่นเนื้อ, พะโล้หมูใส่เต้าหู้, เนื้อตุ๋น, ไก่ตุ๋นยาจีน, ก๋วยเตี๊ยวไก่ตุ๋น ในอาหารหวานเช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง โดยที่มีชื่อเสียงที่สุด ที่มีอบเชยเป็นส่วนประกอบก็คือ ซินนามอนโรล เชื่อกันว่า คิดค้นโดยชาวสวีเดน นิยมมากในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ทำโดยการนวดแป้ง แล้วแผ่ออกเป็นแผ่นบาง โรยส่วนผสมระหว่างอบเชยและน้ำตาล (และลูกเกดหรือองุ่นสับในบางกรณี) ลงไป แล้วม้วนให้เป็นก้อนกลมแนวยาว ตัดเป็นท่อน ๆ แล้วนำไปอบ โรยด้วยน้ำตาลครีมหรือทอปปิ้งอื่น

2. ช่วยบำรุงสุขภาพและรักษาโรค

นอกจากนำไปใช้ประกอบอาหาร อบเชย ยังช่วยบำรุงสุขภาพและรักษาโรคได้มากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไรคไขมันในเลือดสูง และโรคประสาท และยังมีฤทธิ์ช่วยลดคอลเลสเตอรอลในหลอดเลือด ลดอาการอักเสบทางผิวหนังและอวัยวะภายใน รวมถึงแก้กระเพาะอาหารและกระเพาะลำไส้อักเสบได้อีกด้วย

3. มีความสำคัญในฐานะ พืชเศรษฐกิจ

ด้วยคุณประโยชน์ทั้งด้านการใช้ทำอาหารและเบเกอรี่ รวมถึงรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ทำให้ อบเชยกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่สำคัญต่อประเทศที่สามารถเพาะปลูกได้ เช่น อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม ศรีลังกา รวมถึงไทย โดย 4 ประเทศข้างต้นนั้น ในปี 2017 สามารถส่งออกอบเชย คิดเป็นมวลรวมกว่า 99% จากประเทศทั้งหมด มีอินโดนีเซียส่งออกทั้งหมด 87,130 ตัน เป็นอันดับ 1 จีน ส่งออก 79,486 เป็นอันดับ 2 ตามมาด้วย เวียนามและศรีลังกา ตามลำดับ ซึ่งต่อมาในปี 2019 อินโนนีเซีย และ จีน สามารถผลิตอบเชยส่งออก รวมกันคิดเป็น 70% ของโลกเลยทีเดียว แสดงถึงความสำคัญของ อบเชย ในฐานะพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้อย่างแท้จริง

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “อบเชยผง 50 กรัม”