ใบส้มป่อย 100 กรัม

฿20.00

ส้มป่อย ส้มป่อย ชื่อสามัญ Soap Pod ส้มป่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia rugata (Lam.) Merr., Mimosa concinna Willd.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE) สมุนไพรส้มป่อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มพอดี (ภาคอีสาน), ส้มคอน (ไทใหญ่), ส้มขอน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิจือสะ พิฉี่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผ่อชิละ ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แผละป่อย เมี่ยงโกร๊ะ ไม้ส้มป่อย (ลั้วะ), เบล่หม่าฮั้น (ปะหล่อง) เป็นต้น สรรพคุณของส้มป่อย – ใบมีรสเปรี้ยว ฝาดเล็กน้อย ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฟอกโลหิต -ดอกมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย – เปลือกฝักมีรสเปรี้ยวเผ็ดปร่า มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกฝัก) – เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้กระษัย (เปลือกต้น) ช่วยแก้ซางเด็ก (เปลือกฝัก) – ดอกมีสรรพคุณเป็นยาลดไขมัน ช่วยลดความอ้วนหรือลดน้ำหนัก โดยใช้ดอกประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่ม เช้าและเย็น (ดอก) – ใบใช้เป็นยาแก้โรคตา (ใบ) ส่วนต้นใช้เป็นยาแก้โรคตาแดง (ต้น) – ต้นมีรสเปรี้ยวฝาด มีสรรพคุณเป็นยาแก้น้ำตาพิกา

Description

ประโยชน์ของส้มป่อย
1. ยอดอ่อนและใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ แจ่ว หรือนำมาปรุงรส เช่น ต้มปลา เนื้อเปื่อย หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ทำแกงส้ม ต้มส้มไก่ ต้มข่าไก่ ต้มส้มป่อย ข้าวผัดดอกส้มป่อยหรือข้าวผัดปลาส้มแม่ม่าย แกงเขียดน้อยใส่ยอดส้มป่อย ยอดส้มป่อยอ่อง ใช้ใส่แกงปลาหรือเนื้อ ใส่แกงอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เป็นต้น ส่วนชาวปะหล่องจะใช้ยอดอ่อนนำไปผสมกับน้ำพริกห่อใบตองแล้วนำไปหมกรับประทานหรือนำไปทำแกง ส่วนชาวกะเหรี่ยงจะใช้ทั้งยอดอ่อนและดอก เพื่อนำมาประกอบอาหาร เช่น ทำแกง
2. ใบของส้มป่อยถือเป็นผักที่มีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนสูงมากเป็นอันดับต้น ๆ ผลจากการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของยอดส้มป่อยพบว่ามีสูงมาก และยังมีสารซาโปนินในฝักส้มป่อยที่ทำให้ทีเซลล์ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้นด้วย
3. ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถใช้เพื่อดับกลิ่นคาวปลาได้
4. ฝักแก่แห้งนำมาต้มเอาน้ำใช้สระผมแก้รังแค แก้อาการคันศีรษะ บำรุงเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื้นเป็นเงางาม เป็นยาปลูกผม และป้องกันผมหงอกก่อนวัย หรือใช้ต้มกับน้ำอาบหลังคลอด ส่วนตำรับยาแก้รังแค อาการคันหนังศีรษะ และรักษาผมหงอกก่อนวัยนั้น ระบุว่าให้ใช้ฝักส้มป่อยที่ปิ้งไฟประมาณ 10 นาที นำมาต้มรวมกับลูกมะกรูดที่หมกไฟดีแล้ว 2 ลูก ในน้ำ 5 ลิตร แล้วต้มจนเดือดจนแตกฟองดี แล้วนำมาใช้หมักและสระผม หากสระผมด้วยส้มป่อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการคันบนหนังศีรษะและรังแคหายไปได้
5. ชาวลั้วะจะใช้เปลือกต้นนำมาทุบใช้ขัดตัวเวลาอาบน้ำหรือนำไปใช้สระผม ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ฝักแห้งนำมาต้มกับน้ำอาบและใช้ขัดตัว หรือนำมาแช่น้ำใช้สระผม
6. ใบส้มป่อยถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพร โดยจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ที่ช่วยชำละล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง แก้ปวดเมื่อย และช่วยแก้หวัดได้ และยังถูกนำมาใช้ในสูตรยาลูกประคบสมุนไพรเพื่อเป็นยาแก้โรคผิวหนัง บำรุงผิว ลดความดัน
7. ใบและฝักนำมาต้มกับน้ำอาบ ใช้ทำความสะอาด และบำรุงผิว
8. ใบส้มป่อยสามารถนำมาสกัดทำเป็นสีย้อมเส้นไหมได้ โดยสีที่ได้คือสีเขียวอ่อน สีเหลืองอ่อน สีน้ำตาลอ่อน หรือสีครีม นอกจากนี้เปลือกต้นส้มป่อยยังให้สีน้ำตาลและสีเขียว ที่สามารถนำมาใช้ในการย้อมผ้า ย้อมแห และย้อมอวนได้
9. น้ำของฝักส้มป่อยสามารถนำมาใช้ขัดเครื่องเงิน เครื่องทอง และเครื่องโลหะอื่น ๆ ได้
10. ในด้านของความเชื่อส้มป่อยถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวล้านนา โดยชาวบ้านจะใช้ฝักในพิธีกรรมทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ใช้ในงานมงคล ทำน้ำมนต์รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (เชื่อว่าเป็นการแสดงออกถึงความเคารพบูชาและเป็นการขอขมาลาโทษต่อผู้ใหญ่) หรือใช้สรงน้ำพระพุทธรูป ใช้อาบน้ำผู้ป่วยเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้าย ไล่ผี ใช้ล้างหน้าลูกหลังและล้างมือหลังไปงานศพ (เชื่อว่าจะช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกและไม่ให้สิ่งเลวร้ายมารบกวน) หรือจะใช้ใบส้มป่อยใส่ลงไปในน้ำเพื่อใช้สระผมก่อนพิธีโกนผมนาคเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนชาวเหนือจะใช้ฝักส้มป่อยเป็นของขลัง ที่ช่วยป้องกันตนจากสิ่งเลวร้ายในยามจะออกนอกบ้าน โดยจะใช้ฝักส้มป่อย 3 ข้อ และข้าวสุก 3 ก้อนขว้างไปข้างหน้า ข้างหลัง และข้างบน พร้อมกับกล่าวคำว่า “เคราะห์ตังหลัง อย่าไปอยู่ท่า เคราะห์ตังหน้า อย่าไปมาจน เคราะห์ตังบน อย่าไปมาต้อง” หรือในยามที่ไปงานศพ ชาวเหนือจะเอาฝักส้มป่อยใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือเหน็บไว้ที่ผม ด้วยเชื่อว่าจะช่วยป้องกันผีสางมิให้มารบกวนได้ หรือในยามที่มีลมพายุชาวเหนือก็จะนำฝักส้มป่อยไปเผาไฟ เชื่อว่าจะทำให้ลมพายุอ่อนแรงลงได้ ฯลฯ (แต่ในช่วงฤดูกาลที่ไม่มีฝักจะใช้ใบแทนก็ได้ในบางกรณี) และชาวบ้านยังเชื่อว่าต้องเก็บฝักในช่วงก่อนฝนตกฟ้าร้อง เชื่อว่าจะมีความขลังมากยิ่งขึ้น ส่วนคนเมืองจะใช้ฝักนำไปทำน้ำส้มป่อย ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ หรือนำฝักแห้งมาใช้ใส่น้ำมนต์ในงานมงคลต่าง ๆ ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ฝักแก่แห้ง นำมาทำน้ำส้มป่อยหรือนำมาผูกกับตาแหลว (เครื่องรางอย่างหนึ่ง) เป็นต้น[6],[8],[10],[11]
11. ส้มป่อยจัดเป็นไม้มงคลของชาวไทย โดยเชื่อว่าการปลูกส้มป่อยจะช่วยขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายไม่ให้มารบกวน ช่วยเสริมหรือคืนอำนาจให้ผู้มีถาคาอาคม โดยกำหนดให้ปลูกไว้ทางทิศเหนือ

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “ใบส้มป่อย 100 กรัม”